ยินดีต้อนรับ

วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 16 14/02/56

    วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนไปเข้าร่วมกิจกรรม  โครงการส่งเสริมใช้แก้วน้ำส่วนตัว
 
 
จากนั้นเวลา 10.30 น.  อาจารย์ก็ให้นักศึกษาทุกคนกลับมาเรียนตามปกติ
 
 
 กลุ่มที่ 3 หน่วยธรรมชาติ ทะเลแสนงาม เป็นกลุ่มของดิฉันเอง
 
      สาธิตการสอนคนที่ 3 วันพุธ  ส่วนประกอบในทะเล
 
      มาตราฐานที่ 3 การจับคู่
 
     วิธีการสอน คือ ให้เด็กๆสังเกตภาพสัตว์ทะเลที่คุณครูเตรียมมา ว่าสัตว์ตัวไหน มีลักษณะ สี รูปร่างที่เหมือนกัน แล้วให้เด็กนำปากกามาเชื่อยมโยงสัตว์ที่มีลักษณะเหมือนกัน
 

 
 
กลุ่มที่ 4 หน่วยผม
 
         วันจันทร์ ชนิดของผม
 
ระหว่างที่กลุ่มของดิฉัน และกลุ่มที่ 4  กำลังสาธิตการสอน อาจารย์ก็ได้ให้คำอธิบายเพิ่มเติม เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจถึงวิธีการสอนที่ถูกหลักมากขึ้น
 
 
 

 

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15 7/02/56


วันนี้อาจารย์พูดถึงการเข้าอบรม ว่านักศึกษาต้องเข้าอบรมเพื่อความรู้และการเข้าอบรมจะส่งผลถึงการฝึกสอน และต่อจากนั้นอาจารย์ก็ให้กลุ่มที่ 2 ออกมาสาธิตการสอน

   กลุ่มที่ 2

1.             วันจันทร์  ประเภทของต้นไม้

2.             วันอังคาร  ลักษณะของต้นไม้

3.             วันพุธ  ส่วนประกอบของต้นไม้

4.             วันพฤหัสบดี  ประโยชน์ของต้นไม้

5.             วันศุกร์ ข้อควรระวัง

บันทึกการเเรียนครั้งที่ 14 31/01/56


          วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาสาธิตการสอนในหน่อยของตัวเอง โดยให้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มออกมาสาธิตคนละวัน คือ จันทร์-ศุกร์ โดยแต่ละวันจะเป็นหัวข้อย่อยๆ อาจารย์ให้นำมาตราฐานและสาระมาเชื่อมโยงเข้ากับวิธีการสอนเข้ากับวิธีการสอนในแต่ละวัน โดยกลุ่มของดิฉันสอน หน่วยทะเล

กลุ่มที่ 1 หน่วยดิน

  • วันจันทร์ ส- วันอังคาร สอนลักษณะของดิน
  • วันพุธ สอนในเนื้อดินมีอะไรบ้าง
  • วันพฤหัสบดี สอนประโยชน์ของดิน
  • วันศุกร์ สอนข้อควรระวังเกี่ยวกับดิน

ระหว่างที่นักศึกษากำลังศึกษาวิธีการสอน อาจารย์ก็ได้อธิบายวิธีการสอน เพื่อให้นักศึกษาทุกคนเข้าใจวิธีการสอนมากยิ่งขึ้น

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13 24/01/56



วันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่องจำนวนและการดำเนินการ ในมาตรฐาน 6 มาตรฐานและในหัวข้อเรื่องของ จำนวนและการดำเนินการ ก็มีหัวข้อย่อยดังนี้

   1.       การใช้จำนวนจากการนนับ

   2.       การอ่านและเขียนตัวเลขฮินดูอาราบิก และตัวเลขไทย

   3.       มีการเปรียบเทียบจำนวน

   4.       เรียงลำดับจำนวน

และวันนี้อาจารย์มีประชุมด่วน!!!! จึงได้สั่งงานให้นักศึกษา นำเสนองานในสัปดาห์ โดยให้แต่ละกลุ่ม นำเสนอ กลุ่มละ 20 นาที อาจารย์ได้เสริมให้ว่าหัวข้อที่เป็นประโยชน์ว่าจะสอนเด็กให้เข้าใจก็ต้องใช้นิทานในการเล่าเรื่องราวของประโยชน์เรื่องนั้น

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12 17/01/56

วันนี้อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับหลักการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยว่าจะต้องคำนึงถึงประสบการณ์ที่สำคัญ ดังนี้
  1. การจัดประสบการณ์ต้องให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้จากการลงมือกระทำ
  2. การจัดประสบการณ์ต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ
  3. การจัดประสบการณ์ควรจะเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก อาทิเช่น กิจวัตรประจำวัน หรือสิ่งของที่อยู่ในห้องเรียน และที่สำคัญต้องมีสาระสำคัญและประสบการณ์ที่สำคัญปรากฎอยู่ในหลักสูตรมาจัดเป็นกิจกรรมบูรณาการในการเรียนการสอน เช่น หน่วยผลไม้
หน่วยผลไม้
   ผลไม้ที่อยู่ในตะกล้าทั้งสองตะกล้าแต่ละตะกล้าจะมีผลไม้ที่ทานได้ทั้งเปลือกและต้องปลอกเปลือกก่อนทาน ในเรื่องนี้ก็สามารถที่จะบูรณาการในการสอนทางคณิตศาสตร์ได้ในเรื่องของการแยกแยะ การเปรียบเทียบ ผลไม้ที่ทานได้ทั้งเปลือกและต้องปลอกเปลือกก่อนทานว่ามีจำนวนเท่าไร จะทำให้รู้ค่า และมีการกำกับเป็นตัวเลขคณิตศาสตร์

   จากนั้นอาจารรย์ก็ทบทวนเรื่องมาตราฐานการเรียนรู้ของ สสวท. มีดังนี้
  1. การนับ
  2. การวัด
  3. เรขาคณิต
  4. พืชคณิต
  5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11 10/01/56

  •   การนำเสนอข้อมูลเป็น Mind Mapping เป็นเครื่องมือแบบบวิธีการ
  •  เนื้อหาสาระ ในหลักสูตรใช้ชื่อว่า สาระสำคัญ = เชือกที่ผูกไว้กับตัวเด็ก เพื่อเชื่อมโยงไปถึงเด็ก


พัฒนาการของเด็ก แรกเกิด - 6 ปี
 
แรกเกิด - 2 ปี : ใช้ประสาทสัมผัส
2-4 ปี : ใช้ภาษาได้ สื่อสารได้
4-6 ปี : ใช้ภาษาที่เป็นประโยคมากขึ้น มีการใช้เหตุผล
- ประชุมปรึกษา เสนอความคิดเห็น "การจัดงานปีใหม่สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 2"
ในวันพุธ ที่ 23 มกราคม 2556 เวลา 17:00 น.
- การแตกสาระจาก Mind Mapping ออกมา เกิดจากการคิดวิเคราะห์
- มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
 
 
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ       

สาระที่ 2 การวัด
 
สาระที่ 3 เรขาคณิต
 
สาระที่ 4 พีชคณิต
 
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น   
 
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์  
 
 
 เพิ่มเติม อาจารย์สั่งงาน ทำ Mind Mapping สร้างสาระการเรียนรู้ ให้แยกสาระการเรียนรู้ แบ่งเป็น 5 วัน จันทร์ - ศุกร์ ส่ง 17 มกราคม 2556  
 


 

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10 3/01/56

วันนี้อาจารย์สอนโดยการใช้กระดาษลังมาประดิษฐ์เป็นสื่อในการสอนเด็ก โดยอาจารย์สอนให้นักศึกษาได้รู้จักการนำของเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นสื่อในการสอนเด็ก ซึ่งเราสามารถนำกระดาษลังหรือสิ่งของเหลือใช้มาสอนเด็กได้หลายเรื่อง เช่น
  1. การหาค่า
  2. ใช้การัด
  3. การนับ
  4. จำนวน
  5. ใช้ตัวเลขกำกับจำนวน ( โดยการหยิบตัวเลขมาวาง หรือ การเขียน )
  6. เปรียบเทียบ ( มากกว่า น้อยกว่า )
  7. จับคู่ 1:1
  8. จัดประเภท ( รูปทรง ขนาด )
  9. เศษส่วน ( การแบ่งครึ่ง ) 

 
จากนั้นอาจารย์ก็สั่งให้จับคู่ผลิตสื่อ โดยใช้กระดาษลังที่เตรียมมา

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9 27/12/55

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน 

 เพราะเพื่อนๆได้ขออนุญาติอาจารย์เดินทางกลับบ้านในช่วงปีใหม่ที่ต่างจังหวัด เพราะเพื่อนๆส่วนมากในห้องบ้านอยู่ต่างจังหวัด อาจารย์จึงอนุญาติ ดังนั้นจึงงดการเรียนการสอน แต่อาจารย์ได้สั่งการบ้านให้ทำโดยการให้ไปตัดกระดาษลัง โดยกำหนดให้ตัด 4,6,8 ตามลำดับ เป็นรายบุคคล นำมาส่งหลังปีใหม่

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8 20/12/55

สอบกลางภาค

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่7 13/12/55

วันนี้อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับ คู่มือคณิตศาสตร์ จากนั้นให้นักศึกษาทุกคนช่วยกันอธิบายความหมายของ คู่มือคณิตศาสตร์ ต่อจากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาทุกคนช่วยกันอธิบายความหมายของกรอบมาตราฐาน คือ 1 จำนวนและการดำเนินการ 2 การวัด ต่อจากนั้นอาจารย์ก็อธิบายถึงการวิเคราะห์เนื้อหา โดยให้นักศึกษาทุกคนช่วยกันหาความหมายของการวิเคราะห์เนื้อหา จากนั้นอาจารย์ก็ให้ทำงานเป็นกลุ่มๆละ 5 คน โดยมีหัวข้อว่า"ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มช่วยกันวิเคราะห์หน่วย" กลุ่มของดิฉันได้หน่วยธรรมชาติ(ทะเล) พอแต่กลุ่มทำเสร็จอาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มไปทำงานที่เมื่อกี้เพิ่มเติม





เพิ่มคำอธิบายภาพ

บันทึกการเรียนครั้งที่6 6/12/55

วันนี้อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับวิธีการที่จะทำให้เด็กรับรู้ ด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 จากนั้นอาจารย์ก็ได้อธิบายเกี่ยวกับวิธีการเล่นของเด็กปฐมวัยว่า ตาดู หูฟัง ปากลิ้น ชิมรส จมูกดมกลิ่น และเราก็ควรจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับช่วงอายุ  และพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น อย่างต่อเนื่อง หลังจากที่อาจารย์อธิบายเสร็จ อาจารย์ก็ให้นักศึกษาจับกลุ่ม กลุ่มละ 10 คน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม อาจารย์สั่งให้ กลุ่มที่ 1 กับ กลุ่มที่ 3 ต่อกล่องเป็นแบบไหนก็ได้ตามจินตนาการของนักศึกษา ส่วน กลุ่มที่ 2 กับกลุ่มที่ 4 ให้ทำแบบวางแผนก่อนลงมือทำ นักศึกษาแต่ละคนนำกล่องของแต่ละคนที่นำมา มาช่วยกันต่อตามคำสั่งของอาจารย์
  • กลุ่มที่ 1 ประดิษฐ์ ออกมาเป็น เรือขุดเจาะปิโตรเลียม
  • กลุ่มที่ 2 ประดิษฐ์ ออกมาเป็น หุ่นยนต์โลโบ้
  • กลุ่มที่ 3 ประดิษฐ์ ออกมาเป็น หนอน
  • กลุ่มที่ 4 ประดิษฐ์ ออกมาเป็น แท็คเตอร์ 2012
ต่อจากนั้นอาจารย์ก็ได้วิจารณ์ผลงานของแต่ละกลุ่ม





บันทึกการเรียนครั้งที่5 29/11/55

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาจับคู่ ( คู่เก่าที่อาทิตย์ที่แล้วทำงานด้วยกัน ) จากนั้นอาจารย์ก็ได้แจกหัวข้อให้นักศึกษาแต่ละคู่ แล้วให้นักศึกษาแต่ละคู่ออกมาอธิบายวิธีการสอนตามที่ได้รับหัวข้อไป กลุ่มของดิฉันได้หัวข้อที่ 2 คือ ตัวเลข ( Number ) ระหว่างที่นักศึกษาแต่ละคู่ ออกไปอธิบายวิธีการสอนตามหัวข้อที่ตนเองได้ อาจารย์ก็ได้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการสอนเด็กปฐมวัย ให้นักศึกษาแต่ละคู่ได้เข้าใจถึงวิธีการสอนมากยิ่งขึ้น อาจารย์ได้บอกหลักวิธีการสอนว่า "เวลาสอนเด็กเราควรจะตั้งเกณฑ์ไว้แค่ 1 เกณฑ์ เท่านั้น"

เพิ่มเติม อาทิตย์หน้าอาจารย์ให้นำกล่องมาคนละ 1 กล่อง

บันทึกการเรียนครั้งที่4 22/11/55

วันนี้อาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น แล้วให้นักศึกษาวาดรูปตามที่นักศึกษาต้องการ จากนั้นอาจารย์ก็นำรูปภาพที่นักศึกษาวาดไปแปะ บนกระดานแล้วอาจารย์ก็อธิบายเรื่อง การแบ่งช่วงเวลา

ขอบข่ายหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย ( นิตยา ประพฤติกิจ. 2541: 17-19 )
  1. การนับ ( Counting ) การนับตามลำดับตั้งแต่ 1-10 ขึ้นไป
  2. ตัวเลข ( Number )
  3. การจับคู่ ( Matching )
  4. การจัดประเภท
  5. การเปรียบเทียบ ( Comparing ) การใช้ไม้บรรทัด หรือสายวัด
  6. การเรียงลำดับ
  7. รูปทรงและเนื้อที่ ( Shape and Space )
  8. การวัด ( Measurement ) เพื่อหาค่า หาจำนวน
  9. เซต ( Set ) การจัดกลุ่ม เพื่อหาค่า
  10. เศษส่วน ( Fraction ) จำนวนทั้งหมด แล้วนำมาแบ่งครึ่ง
  11. การทำตามแบบหรือลวดลาย ( Patterning )
  12. การอนุรักษ์ หรือการคงที่ด้านปริมาณ ( Conservation )